การสื่อสารและปรับตัวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฮั่นปั้นประจำประเทศไทย

Authors

  • ยุทธการ สุขสม
  • นันทิยา ดวงภุมเมศ
  • ธีรพงษ์ บุญรักษา

##semicolon##

เจ้าหน้าที่ฮั่นปั้น##common.commaListSeparator## การสื่อสารทางวัฒนธรรม##common.commaListSeparator## การปรับตัวทางวัฒนธรรม

Abstract

งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลเหตุที่เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารและปรับตัวทางวัฒนธรรม รวมถึงแนวทางในการสื่อสารและปรับตัวในวัฒนธรรมไทยของเจ้าหน้าที่ฮั่นปั้นประจำประเทศไทย โดยใช้ทฤษฎีเรื่องการสื่อสารและปรับตัวทางวัฒนธรรมของ Young Yun Kim (2004) เป็นกรอบในการวิจัย เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฮั่นปั้นประจำประเทศไทย จำนวน 13 คน และบุคลากรชาวไทยที่ต้องติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฮั่นปั้น จำนวน 4 คน โดยผลการศึกษาพบว่า อุปสรรคในการสื่อสารและปรับตัวทางวัฒนธรรมของเจ้าหน้าที่ฮั่นปั้นประจำประเทศไทยมีมูลเหตุมาจาก (1) สภาวะความไม่รู้-ไม่เข้าใจ-ไม่แน่ใจในวัฒนธรรมไทย รวมถึงความไม่คุ้นเคยต่อพฤติกรรมและการแสดงออกในวัฒนธรรมไทย (2) สภาวะความกังวลต่อการสื่อสารที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ฮั่นปั้นกับคนไทย และ (3) สภาวะแรงกดดันที่เกิดจากวิถีการทำงานที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับจีน สำหรับแนวทางที่เจ้าหน้าที่ฮั่นปั้นใช้ในการจัดการกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขท่ามกลางสภาพแวดล้อมและบริบทไทย ประกอบด้วย การใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์กับคนไทย การคล้อยตามวิถีปฏิบัติของคนไทย การปรึกษาหรือพูดคุยกับบุคคลอื่น และการเปิดใจ

##submission.downloads##

Published

19-07-2022