https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/issue/feed วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2024-03-01T09:50:32+07:00 Lecturer Napasri Suwannachote (Ph.D) hs_ssrujournal@ssru.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยินดีรับบทความวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารฉบับนี้จะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านต่อบทความ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง</p> <p><u><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ 2 ฉบับ</strong></u></p> <p><u><strong>ฉบับที่ 1 </strong></u><strong>เดือน มกราคม – </strong><strong>มิถุนายน (เปิดรับบทความทุกวันที่ 1 - 31 มกราคม ของทุกปีหรือจนกว่าจะเต็ม เท่านั้น)</strong></p> <p><u><strong>ฉบับที่ 2 </strong></u><strong>กรกฎาคม - </strong><strong>ธันวาคม (เปิดรับบทความทุกวันที่ 1 - 31 กร</strong><strong>กฎาคม</strong> <strong>ของทุกปีหรือจนกว่าจะเต็ม เท่านั้น)</strong></p> <p> </p> <p><strong><u>ประเภทบทความที่รับ: </u><u>บทความวิจัย</u></strong></p> <p>ภาษาและวรรณคดี, การสอนทางด้านภาษา, ศิลปวัฒนธรรม, ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ, การพัฒนาสังคมและท้องถิ่น, การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ, รัฐประศาสนศาสตร์และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง</p> https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/287 กองบรรณาธิการ 2024-01-18T15:43:37+07:00 ศิริธรรม จิตต์งาม sirithum29@gmail.com <p>-</p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement## https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/187 วัจนกรรมในการให้คำปรึกษาเรื่องความรักในรายการ “พุธทอล์ค พุธโทร” 2023-03-31T14:43:23+07:00 ปิยฉัตร พลเสน s63123401020@ssru.ac.th อภิญญา สายสุริยะ s63123401020@ssru.ac.th วรุณญา อัจฉริยบดี s63123401020@ssru.ac.th <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบวัจนกรรม การให้คำปรึกษาเรื่องความรักในรายการ พุธทอล์ค พุธโทร วิเคราะห์ข้อมูลจาก 10 อันดับรายการพุธทอล์ค พุธโทร ที่มีผู้ชมผ่านทางแอปพลิเคชันยูทูบ (YouTube) มากที่สุดในปี พ.ศ. 2561 โดยใช้เกณฑ์การการจำแนกกลุ่มวัจนกรรม <br>และเงื่อนไขวัจนกรรมของ John R. Searle (1976) เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถ้อยคำการให้คำปรึกษา ผลการศึกษาพบว่า วัจนกรรมการให้คำปรึกษาในรายการพุธทอล์ค พุธโทร มีการใช้วัจนกรรมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาความรัก 6 วัจนกรรม ได้แก่ 1) วัจนกรรมการแนะนำ 2) วัจนกรรมการเตือน 3) วัจนกรรมการแสดงความคิดเห็น 4) วัจนกรรมการตำหนิ 5) วัจนกรรมการชื่นชม 6) วัจนกรรมการปลอบโยน เมื่อพิจารณาการใช้วัจนกรรมในภาพรวมพบว่า วัจนกรรมการให้คำปรึกษาที่พบมากที่สุด คือ วัจนกรรมการแนะนำ รองลงมา คือ วัจนกรรมการเตือน วัจนกรรมการแสดงความคิดเห็น วัจนกรรมการตำหนิ วัจนกรรมการชื่นชม และวัจนกรรมการให้คำปรึกษาที่พบน้อยที่สุด คือ วัจนกรรมการปลอบโยน</p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement## https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/213 ผลกระทบจากการกักกันตัวทางการแพทย์ในวอลเปเปอร์สีเหลืองของ ชาร์ลอต กิลแมน 2023-06-09T10:53:21+07:00 Raphiphat Phatthana raphiphat.ph@ssru.ac.th <p>“วอลเปเปอร์สีเหลือง” ของ ชาร์ลอต กิลแมน เป็นหนึ่งในตัวบทวรรณกรรมที่ตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของแพทย์และสถานพยาบาลในการบังคับใช้การกักกันตัวผู้ป่วย โดย จุดประสงค์ของบทความนี้ มุ่งวิเคราะห์ผลกระทบ 3 ส่วน จากการถูกกักกันทางการแพทย์ คือ 1) ผลกระทบในด้านเสรีภาพส่วนบุคคล 2) ผลกระทบต่อสถาบันครอบครัว 3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยการศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ เลือก ทฤษฎีเรื่องเล่าความเจ็บปวด เป็นกรอบที่ใช้ในการวิเคราะห์ตัวบท บทสรุปของการศึกษาชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าบรรดาคณะแพทย์จะยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอในการรักษาและตอบสนองโรคอุบัติใหม่ แต่สถานภาพทางสังคมและความรู้ที่สูงกว่าของแพทย์นั้น ทำให้แพทย์สามารถสร้างความชอบธรรม ในการบังคับใช้แนวทางการรักษาที่อาจส่งผลกระทบกับสิทธิเสรีภาพของบุคคลทั่วไป ในส่วนผลกระทบด้านสถาบันครอบครัว การศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า แพทย์ควรหลีกเลี่ยงการให้การรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวเพราะจะขัดต่อหลักจรรยาบรรณแพทย์ ในประเด็นผลประทบทางเศรษฐกิจนั้น ผู้ป่วยมิควรถูกจำกัดบทบาทให้อยู่แต่ในบริเวณบ้านเท่านั้น ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาผลกระทบจากการกักบริเวณผู้ป่วยอย่างไม่เต็มใจ ในครั้งนี้ จะทำให้บุคลากรทางแพทย์มีความเข้าใจ และเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย ในฐานะมนุษย์มากยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมีการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ในสถานที่กักกันให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกักกันด้วย</p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement## https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/228 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเขียนโปรแกรมพื้นฐานและทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบ Learning by doing ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2023-07-17T15:31:52+07:00 Sawitree Phewngam sawitree.ph@ssru.ac.th <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนจากการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมพื้นฐาน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3. เพื่อสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ Learning by doing โดยมีขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้โครงงานด้านนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โครงงานนวัตกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน 2. แบบวัดทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 3.แบบสังเกตและแบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผลของการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent) พบว่า 1) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมพื้นฐานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นักเรียนมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมพื้นฐานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินการสังเกตพฤติกรรมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับทฤษฎี Learning by doing โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก</p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement## https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/222 การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียนที่มี การจัดการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2023-08-07T09:54:33+07:00 Jarmon Sirigunna​ jarmon.si@ssru.ac.th <p>การวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลในครั้งเพื่อวิเคราะห์ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากจากการรวบรวมข้อมูล โดยใช้เทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ ในการพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4 จำนวน 136 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา จำนวน 5 ท่าน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัล จากผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์พบว่า ด้านผู้เรียนสอดคล้อง 4.63 ด้านผู้สอนสอดคล้อง 4.81 ด้านเพื่อนร่วมชั้นสอดคล้อง 4.70 ด้านบรรยากาศในการเรียนสอดคล้อง 4.61 ด้านครอบครัวสอดคล้อง 4.63 และด้านโรงเรียนสอดคล้อง 4.06 องค์ประกอบย่อยของแต่ละตัวบ่งชี้ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 2 ด้านผู้สอน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 3 ด้านเพื่อน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 4 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 5 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย และผลการตรวจสอบตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลจากการประเมินโดยกลุ่มเป้าหมายได้ผลคือ ตัวบ่งชี้ในด้านที่ 1. ผู้เรียน มีค่า MD = 3.42 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 2 ผู้สอน มีค่า MD = 2.98 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 3 เพื่อน มีค่า MD = 3.93 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 4 บรรยากาศในการเรียนรู้ มีค่า MD = 2.94 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 5 ครอบครัว มีค่า MD = 3.36 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 6 โรงเรียน มีค่า MD = 3.36</p> 2024-01-23T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement## https://ssrujournal.com/index.php/hsssru/article/view/295 ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี 2024-03-01T09:50:32+07:00 Saranyu Chanwong yuyu.saranyu@gmail.com พิมพ์พร เลิศอำไพ yuyu_saranyu@hotmail.com ปวริศา เทียนทอง yuyu_saranyu@hotmail.com <p>การศึกษาวิจัยเรื่อง “ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี” เกิดขึ้นจากการตั้งข้อสังเกตหลังจากที่จังหวัดเพชรบุรีได้เป็นเมืองสมาชิกในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหารขององค์กรยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network : UCCN) ในปี พ.ศ. 2564 บทความวิจัยนี้ได้จัดทำในรูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลงานวิจัยต่าง ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องและดำเนินการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่พิเศษ 8 (อพท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเพชรบุรี และกลุ่มแผนงานกลยุทธ์สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายงาน แผนงาน และยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีประกอบกับแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงอาหารภายในจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี พบว่า จังหวัดเพชรบุรีมีการดำเนินการจัดเก็บฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร รวมถึงศาสตร์แขนงต่าง ๆ ด้านอาหารที่เป็นองค์ประกอบในการทำให้เกิดความโดดเด่นและเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบุรีได้มีการร่วมมือจากหน่วยงานภายในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงภาคส่วนของผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารและนำความได้เปรียบในการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก (UNESCO) มาเพิ่มโอกาสทางด้านเศรษฐกิจในการสร้างรายได้เข้าสู่พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและเกิดการหมุนเวียนรายได้ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน</p> 2024-03-25T00:00:00+07:00 ##submission.copyrightStatement##