การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแบบแรงดึงดูดเพื่อการดำเนินธุรกิจ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมของกลุ่มผู้ประกอบการในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

Authors

  • ระชานนท์ ทวีผล
  • ณัฐพล เขียวงาม

##semicolon##

กลยุทธ์ทางการตลาดแบบแรงดึงดูด, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ผู้ประกอบการรุ่นเยาว์

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของสินค้าที่จำหน่ายผ่านสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมของกลุ่มผู้ประกอบการในสถาบันอุดมศึกษา (2) ศึกษาแแนวทางกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแบบแรงดึงดูดเพื่อการดำเนินธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมของกลุ่มผู้ประกอบการในสถาบันอุดมศึกษา และ (3) ศึกษาข้อจำกัดและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจผ่านสื่อสังคมออนไลน์อินสตาแกรมของกลุ่มผู้ประกอบการในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีปรากฏการวิทยา (Phenomenology) เก็บรวบรวมข้อมูลจากการการสัมภาษณ์เชิงลึกควบคู่กับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมจากผู้ประกอบการที่เป็นนักศึกษาจำนวน 10 คน ซึ่งมีผู้ติดตามในบัญชีผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์อินสตราแกรมตั้งแต่ 1,000 คนขึ้นไป ผลการศึกษาพบว่า (1) สินค้าที่ผู้ประการจัดจำหน่ายมี 2 ลักษณะ คือ การผลิตสินค้าเอง และการรับสินค้ามาขาย (2) การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดแบบแรงดึงดูด ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (2.1) คำสัญญา (Promise) เป็นการแสดงเนื้อหาที่ส่งไปยังผู้บริโภคแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน (2.2) การทำให้เห็นภาพ (Picture) เป็นการทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงภาพลักษณ์ของสินค้าผ่านภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหว (2.3) หลักฐาน (Proof) เป็นข้อมูลของผู้บริโภคเกี่ยวกับประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์ (2.4) การกระตุ้น (Push) เป็นการกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ช่วยกระตุ้นให้จำหน่ายสินค้าได้เร็วยิ่งขึ้น (3) ข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจมีความเกี่ยวข้องกับจำนวนคู่แข่งทางการค้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความเชื่อมั่นในตัวสินค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในท้องตลาด และอุปสรรคกลายเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้เนื่องจากเป็นกระบวนการบริการขนส่งที่มีความล่าช้า

##submission.downloads##

Published

12-10-2022