การคุ้มครองสิทธิของ “ผู้อาจจะเสียหาย” ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง

Authors

  • องอาจ เจ๊ะยะหลี

##semicolon##

การคุ้มครองสิทธิ, ผู้อาจจะเสียหาย, สิทธิฟ้องคดี

Abstract

ระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) หรือที่เรียกว่า ระบบประมวลกฎหมาย (Code Law) หรือสกุลโรมาโน เยอรมานิค (Romano Germanic) เป็นระบบที่ให้ความสำคัญกับตัวบทกฎหมายที่ต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ ส่วนคำพิพากษาของศาลจะเป็นเพียงแนวทางหรือบรรทัดฐานการปรับกับข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมายในคดีหลังๆเท่านั้น จะไม่มีบทบาทเทียบเท่ากับกับกฎหมายแต่อย่างใด หนึ่งในผลเสียของการใช้กฎหมายระบบนี้ คือ ปัญหาของการ “ใช้กฎหมาย” โดยเฉพาะการใช้ในลักษณะนำเอาบทบัญญัติของกฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริง เช่น การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ที่สามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ไม่ว่าตามกระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรม คือ ในคดีแพ่งและในคดีอาญา ได้บัญญัติให้ “สิทธิ” ของผู้เสียหายจึงสามารถมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล แต่ในขณะที่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองได้ขยายสิทธิของผู้ที่มี “สิทธิ” นำคดีมาฟ้องต่อศาลไปถึง “ผู้อาจจะเสียหาย” ก็สามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ในแดนแห่งคำว่า “อาจจะเสียหาย” จะเริ่มต้นนับและจะสิ้นสุดลงตรงจุดใด หรือมีหลักการใดเป็นการบ่งชี้ว่าเป็นผู้อาจจะเสียหาย หรือใช้หลักเกณฑ์อะไรที่จะกำหนดถึงผู้ที่อาจจะเสียหาย เมื่อไม่มีเกณฑ์ที่กำหนดตายตัว ปัญหาที่ตามมา คือ การรับรองสิทธิในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลของผู้ที่อาจจะเสียหายอาจจะไม่เสมอภาคและเท่าเทียมกัน ภายใต้การบังคับใช้มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้

##submission.downloads##

Published

12-10-2022