รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว

Authors

  • อุทุมพร เลิศทรัพย์อนันต์
  • พระมหาประกาศิต สิรเมโธ
  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา

##semicolon##

การเสริมสร้างสมรรถนะ##common.commaListSeparator## การประกอบอาชีพเสริม##common.commaListSeparator## เด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการประกอบอาชีพของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้อำนวยการ กลุ่มคุณครูประจำ และกลุ่มผู้ปกครอง รวมทั้งสิ้นจำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะเด็กพิเศษมีความรู้ความเข้าใจบริบทตนเองในการแสดงออกพฤติกรรมที่พึงประสงค์ มีทักษะการประดิษฐ์ชิ้นงาน สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวันได้และไม่เป็นภาระผู้อื่น พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ 2) การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะเริ่มจากการประเมินความต้องการ สู่การถ่ายทอดการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตประจำวันทำให้เป็นกิจวัตร การเรียนรู้เพื่อบรรเทาอาการและลดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จากนั้นออกแบบและดำเนินกิจกรรมโดยการฝึกอาชีพ จัดกิจกรรมระหว่างหน่วยงานและครอบครัว และสร้างเครือข่ายเพื่อสนับสนุนให้กิจกรรมดำเนินไปได้อย่างราบรื่นบรรลุเป้าหมาย 3) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะในการประกอบอาชีพเสริมของเด็กพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสระแก้ว จำนวน 3 กิจกรรม คือ 1. การทำสบู่แฟนซี 2. การสานพัด และ3. การใช้ศิลปะบำบัด พบว่า การทำสบู่แฟนซีเป็นรูปแบบที่สามารถนำมาประยุกต์ในการประกอบอาชีพเสริม เช่น สบู่ใสฟอกตัว สบู่ที่ระลึกในงานมงคล สบู่สมุนไพรในการตกแต่งบ้านและเพิ่มกลิ่นหอม เป็นต้น สามารถนำไปขายในงานส่งเสริมประจำจังหวัดสระแก้ว จึงเป็นการขายสินค้าหรือต่อยอดออกสู่ชุมชน หรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้

##submission.downloads##

Published

25-09-2023