การใช้จ่ายภาครัฐกับคุณภาพชีวิตของประชาชน

Authors

  • เจตน์ ดิษฐอุดม

##semicolon##

สถาบันการคลัง, การใช้จ่ายภาครัฐ, คุณภาพชีวิต

Abstract

กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสถาบันการคลังและการใช้จ่ายภาครัฐกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในบทความนี้เป็น “เครื่องมือ” ในการกำกับติดตามสภาวะเศรษฐกิจสังคม (socioeconomic condition) และระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการวัดผลลัพธ์ของการใช้จ่ายภาครัฐว่าช่วยให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นหรือไม่ โดยสามารถใช้กรอบการวิเคราะห์ด้านตัวแปรคุณภาพชีวิต ในการบ่งชี้ถึงสภาวะเศรษฐกิจสังคมขณะนั้นและที่อาจเป็นในอนาคต ตลอดจนทราบถึงปัญหา และความต้องการที่เกิดขึ้นจริงของประชาชนในพื้นที่ ทำให้ภาครัฐสามารถออกแบบ และกำหนดบทบาทของหน่วยงาน อัตรากำลัง การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ตลอดจนหลักเกณฑ์ และวิธีการในการบริหารการเงินการคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่บ่งชี้ได้ ตัวอย่างเช่น ผลวิเคราะห์สะท้อนว่าบางพื้นที่มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในด้านสาธารณสุข รัฐบาล จะสามารถปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายด้านสาธารณสุขให้เหมาะสมและมุ่งสู่การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้กลุ่มคนพิการหรือคนยากจนสามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้สะดวกขึ้น ฯลฯ จากนั้นเมื่อมีการปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณในแผนงานต่าง ๆ เพื่อสร้างสภาวะเศรษฐกิจสังคม ที่เหมาะสม ตอบสนองปัญหา และ ความต้องการของแต่ละช่วงเวลาแล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถ ใช้กรอบการวิเคราะห์เพื่อพิจารณาผลลัพธ์ของการใช้จ่ายในแผนงานต่าง ๆ เป็นการกำกับและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินว่าเมื่อมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาใด ๆ แล้วมีการใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของนโยบายในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีหรือไม่ อันเป็นการกำกับการใช้จ่ายภาครัฐให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุดอยู่เสมอ

##submission.downloads##

Published

11-10-2022