การปฏิบัติตนในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

Authors

  • วรัตม์ พิมพ์คต
  • ขันทอง ใจดี
  • บุณวัฒน์ สว่างวงศ์

##semicolon##

การรับรู้##common.commaListSeparator## การปฏิบัติตน##common.commaListSeparator## สภาวะฝุ่นละออง PM 2.5

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้และการปฏิบัติตนในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับปัญหาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบการ ปฏิบัติตนในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับปัญหาในเขตดุสิต กรุงเทพมหานครจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง โดยเฉพาะกลุ่มคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 323 คน มาจาการ ใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบจำนวนประชากรคือ สูตรของ W.G Cochran ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Way ANOVA พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการรับรู้สภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.32) โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 มีผลกระทบต่อระบบ ทางเดินหายใจมากที่สุด (X ̅ =4.64) รองลงมาฝุ่นละออง PM 2.5 ทำให้เกิดอาการระคายเคืองจมูก แสบจมูก ไอ มีเสมหะ การเผาไหม้และไฟป่าทำให้เกิดฝุ่น PM 2.5 (X ̅ =4.48) และควันรถยนต์ ส่งผลให้เกิดฝุ่นละออง (X ̅ =4.48) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติตน ในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา แตกต่างกันมีการปฏิบัติตน ในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ไม่แตกต่างกันและนักศึกษาที่มีระดับการรับรู้สภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 แตกต่างกันมีการปฏิบัติตน ในสภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05

##submission.downloads##

Published

12-10-2022