ผลการประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าและการติดเฟซบุ๊คของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในยุควิถีใหม่

Authors

  • บุญเลี้ยง ทุมทอง
  • ประทวน วันนิจ
  • ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

##semicolon##

ภาวะซึมเศร้า##common.commaListSeparator## นักศึกษา##common.commaListSeparator## เฟซบุ๊ก##common.commaListSeparator## การรับรู้ความสามารถของตนเอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าและการใช้เฟซบุ๊คของนักศึกษาและเพื่อหาตัวแปรที่มีอำนาจทำนายภาวะซึมเศร้าและการใช้เฟซบุ๊คของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาจำนวน 749 คน โดยการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า แบบสอบถามประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเองมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 แบบสอบถามรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมีค่าความเชื่อมั่น 0.83 และแบบสอบถามการใช้เฟซบุ๊ค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีระดับการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.02 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.56 2) นักศึกษามีระดับอาการของภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับมีความผิดปกติแต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า มีค่าเฉลี่ย 0.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.99 3) นักศึกษามีระดับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูมาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75 4) ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของนักศึกษา (Y1) ได้แก่ ความสามารถของตนเองและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งพาตนเอง โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาได้ร้อยละ 76.88 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 3.70 5) ตัวพยากรณ์ที่ดีในการพยากรณ์การติดเฟซบุ๊คของนักศึกษา (Y2) ได้แก่ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบลงโทษทางจิตและรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบพึ่งพาตนเอง โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการติดเฟซบุ๊คของนักศึกษาได้ร้อยละ 75.78 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการพยากรณ์เท่ากับ 3.51

##submission.downloads##

Published

12-10-2022