การพัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • ขันทอง ใจดี

##semicolon##

พัฒนาชุมชน##common.commaListSeparator## เหลื่อมล้ำ##common.commaListSeparator## ยั่งยืน##common.commaListSeparator## ชายแดนภาคใต้

Abstract

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชมชุมชน และ วิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ตลอดจนเพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับประชาชนที่อาศัยอยู่ใน พื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 400 คน โดยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา จากนั้นใช้การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการการถดถอยของพหุคูณ ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่ง มีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่มีหน่วยปฏิบัติ ในพื้นที่ จำนวน 20 คน ผลการวิจัยพบว่า ระดับการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลสำคัญ ต่อการพัฒนาชุมชน พบว่า ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการค้า การลงทุน ในพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนมากที่สุด รองลงมา การส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรมและเมืองท่องเที่ยวชายแดน และการพัฒนาศักยภาพการผลิตภาคการเกษตรอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและการตลาด ตามลำดับ จากผลการวิจัยดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ นำเสนอรูปแบบการพัฒนาชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เรียกว่า ESE Develop Model โดยนำหลัก 3 มิติสำคัญ ด้านความยั่งยืน (Three Pillars of Sustainability) ประกอบด้วย มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม และมิติด้านสิ่งแวดล้อม มาบูรณาการร่วมกับ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา

##submission.downloads##

Published

12-10-2022