ผู้หญิงกับสิทธิเสรีภาพทางร่างกายภายใต้ระบบปิตาธิปไตย ที่ปรากฏในนวนิยายเชิงอัตชีวประวัติ เรื่อง คิมจียอง เกิดปี 82

Authors

  • ณัฐฌรีภรณ์ สกุลสัมฤทธิ์
  • จิราภรณ์ อัจฉริยะประสิทธิ์

##semicolon##

ปิตาธิปไตย##common.commaListSeparator## ผู้หญิงเกาหลีใต้##common.commaListSeparator## คิมจียอง เกิดปี 82

Abstract

บทความวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สิทธิเสรีภาพทางร่างกายของผู้หญิงเกาหลีใต้ภายใต้ระบบปิตาธิปไตยที่ปรากฏในนวนิยายเชิงอัตชีวประวัติ เรื่อง คิมจียอง เกิดปี 82 ของ โชนัมจู (Cho Nam-joo) นักเขียนหญิงชาวเกาหลีใต้ จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมนำเสนอให้เห็นอิทธิพลของระบบปิตาธิปไตยที่เข้าควบคุมสิทธิเสรีภาพทางร่างกายของผู้หญิงใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ผู้หญิงกับสรีระทางกายภาพ โดยผู้หญิงถูกกำหนดคุณค่าผ่านสมรรถภาพทางร่างกายโดยการสร้างมายาคติว่าผู้หญิงอ่อนแอเพราะมีร่างกายแข็งแรงไม่เท่าผู้ชายทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมบางอย่างได้ 2) ผู้หญิงกับความงามและการแต่งกาย สะท้อนการให้คุณค่ากับผู้หญิงจากปัจจัยภายนอก สร้างกรอบความคิดให้ผู้หญิงต้องพัฒนาความสวยอยู่เสมอ อีกทั้งผู้หญิงยังต้องการแต่งกายอย่างมิดชิดเพื่อลดการถูกคุกคามทางเพศ ซึ่งกลายเป็นภาระความรับผิดชอบของผู้หญิงและ 3) ผู้หญิงกับร่างกายและการตั้งครรภ์ สะท้อนความคาดหวังของสังคมเมื่อผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องตั้งครรภ์บุตรชาย แม้ว่าจะเจ็บปวดทั้งจิตใจและร่างกายก็ตาม อย่างไรก็ดี วรรณกรรมชี้ให้เห็นด้วยว่า ผู้หญิงไม่ได้ยอมจำนนแต่พยายามที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิทางร่างกายและสิทธิเสรีภาพทางสังคม ด้วยการเปิดเผย วิพากษ์ ตั้งคำถาม และโต้กลับระบบชายเป็นใหญ่ที่เข้ามาควบคุมความคิดและการแสดงออกด้วย

##submission.downloads##

Published

12-10-2022