การสร้างความเข้มแข็งของสังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้และปฏิบัติการ เพื่อการรับรองระบบเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม PGS ในจังหวัดเชียงราย

Authors

  • กัลยาณี กุลชัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

##semicolon##

การสร้างความเข้มแข็ง##common.commaListSeparator## สังคมแบบเศรษฐกิจพอเพียง##common.commaListSeparator## กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม##common.commaListSeparator## ระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและถอดบทเรียนกระบวนการจัดการเรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกรที่ใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองแบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System, PGS) เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่รับรองแบบมีส่วนร่วมแบบ PGS ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับตัวแทนสมาชิกกลุ่ม ประธานกลุ่ม ถอดบทเรียนกระบวนการจัดการเรียนรู้และวิเคราะห์เนื้อหา(Content analysis)  จากการศึกษาพบว่ากลุ่ม PGS เชียงราย มีการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกบนฐานหลักการทั้งสามด้านของเศรษฐกิจพอเพียง คือ  ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และการมีภูมิคุ้มกัน บน 2 เงื่อนไขคือความรู้ที่ควบคู่กับการใช้หลักคุณธรรมของความซื่อสัตย์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของกลุ่ม มี 6 ด้านได้แก่  1) สมาชิกที่ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์ 2) มีภาคีเครือข่ายของกลุ่ม PGS ที่ให้ความร่วมมือ 3) มีกลไกการตรวจแปลง 4) กลไกการทำการตลาด บนฐาน 4 PS 5) การบริหารจัดการกลุ่ม PGS เชียงราย แบบมีส่วนร่วม และ 6) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก

##submission.downloads##

Published

12-06-2023