การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียนที่มี การจัดการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Authors

  • Jarmon Sirigunna​ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

##semicolon##

ตัวบ่งชี้##common.commaListSeparator## เกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียน##common.commaListSeparator## การจัดการการเรียนรู้ดิจิทัล

Abstract

การวิจัยพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลในครั้งเพื่อวิเคราะห์ตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินความสุขในการเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากจากการรวบรวมข้อมูล โดยใช้เทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ ในการพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลใช้กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4 จำนวน 136 คน และผู้ทรงคุณวุฒิทางจิตวิทยา จำนวน 5 ท่าน โดยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ความสอดคล้องของตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัล จากผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์พบว่า ด้านผู้เรียนสอดคล้อง 4.63 ด้านผู้สอนสอดคล้อง 4.81 ด้านเพื่อนร่วมชั้นสอดคล้อง 4.70 ด้านบรรยากาศในการเรียนสอดคล้อง 4.61 ด้านครอบครัวสอดคล้อง 4.63 และด้านโรงเรียนสอดคล้อง 4.06 องค์ประกอบย่อยของแต่ละตัวบ่งชี้ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 2 ด้านผู้สอน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 3 ด้านเพื่อน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 4 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 5 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย ตัวบ่งชี้ที่ 6 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย และผลการตรวจสอบตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนรู้ดิจิทัลจากการประเมินโดยกลุ่มเป้าหมายได้ผลคือ ตัวบ่งชี้ในด้านที่ 1. ผู้เรียน มีค่า MD = 3.42 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 2 ผู้สอน มีค่า MD = 2.98 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 3 เพื่อน มีค่า MD = 3.93 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 4 บรรยากาศในการเรียนรู้ มีค่า MD = 2.94 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 5 ครอบครัว มีค่า MD = 3.36 ตัวบ่งชี้ด้านที่ 6 โรงเรียน มีค่า MD = 3.36

##submission.citations##

กัลยาณี และ คณะ. (2562). การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์กับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านคำศัพท์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(2), 45-54.

เกศรา คณฑา และ คณะ. (2560). การพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหา เรื่อง กฎหมายน่ารู้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Viridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 1180–1197.

ชฎายุ บุตรศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสุขในการเรียนวิชาสังคมศึกษาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นงลักษณ์ ไหว้พรหม, สรุสงค์ ศรีสุวัจฉรีย์, ปัทมา ผาดจันทึก และ พิมอร แก้วแดง. (2550). การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 10(2), 18-23.

บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์. (2563). Digital Natives and M-Learning. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2563, จาก https://digitalagemag.com/digital-natives

วิทัศน์ ฝักเจริญผล และ คณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid – 19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44–61.

สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เอยูโพล. (2563). การเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ Covid – 19. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.ryt9.com /s/abcp/3134816

สาวิตรี ผิวงาม. (2563). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนรู้ดิจิทัลที่ส่งเสริมความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 13(2), 284-300.

Chatthip, C. (2002). The relationship between emotional competence and stress coping behavior of high school students of schools under the Department of General Education in Songkhla Province. (Thesis Master of Social Work Department of Social Work graduate school, Thammasat University).

Phra, P, V. (2011). Happiness of students for the wisdom of the land. In research report. Mahidol University.

##submission.downloads##

Published

23-01-2024