การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการเขียนโปรแกรมพื้นฐานและทักษะการแก้ปัญหาโดยใช้รูปแบบ Learning by doing ร่วมกับการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • Sawitree Phewngam โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

##semicolon##

การเรียนรู้แบบลงมือทำ##common.commaListSeparator## โครงงานเป็นฐาน##common.commaListSeparator## การเขียนโปรแกรมพื้นฐาน##common.commaListSeparator## ทักษะคิดวิเคราะห์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนจากการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมพื้นฐาน 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้โครงงานเป็นฐาน 3. เพื่อสร้างกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับทฤษฎีการเรียนรู้ Learning by doing โดยมีขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมโดยใช้โครงงานด้านนวัตกรรมมาช่วยในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนโปรแกรมและการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง โครงงานนวัตกรรมด้านการพัฒนาเทคโนโลยี IoT เพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน 2. แบบวัดทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น 3.แบบสังเกตและแบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผลของการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (dependent) พบว่า 1) หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมพื้นฐานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นักเรียนมีความสามารถในการเขียนโปรแกรมพื้นฐานสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการประเมินการสังเกตพฤติกรรมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับทฤษฎี Learning by doing โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

##submission.citations##

กนกวรรณ ดาบส. (2566). ผลการใช้ Discord แอปพลิเคชันในการเรียนรู้ออนไลน์ต่อกลยุทธ์การทำข้อสอบมาตรฐานของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 93-108.

กมลพร ทองนุช. (2564). การจัดการการเรียนรู้ออนไลน์ส่งเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(1), 140-151.

ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ และ เกษร สุวิทยะศิริ. (2560). การสร้างความรู้ผ่านทักษะการคิดแก้ปัญหา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(1), 177–183.

ปาจรีย์ หละตำ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การถนอมอาหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(3), 178-189.

ปุริม ชฎารัตนฐิติ. (2559). การพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการเรียนการสอนแบบโครงงานและการทำโครงงานประจำภาคการศึกษา รายวิชา : 4131301 หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สืบคืนเมื่อ 10 January 2566, จาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/ handle/123456789/2198

พัฒนะ พิพัฒน์ศรี. (2563). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเรื่อง การเขียนโปรแกรม KidBright สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

มัทนา ดวงกลาง. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานโดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและสมรรถนะสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในวิชาคอมพิวเตอร์. Viridian E- Journal, Silpakorn University, 12(2), 645-661.

เมธาวี โสรเนตร. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคอมพิวเตอร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา).

รุ่งทิพย์ ศรสิงห์, พรชัย ทองเจือ, และ ผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. วารสารมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 11(1), 92-104.

Fikru Debebe Mekonnen. (2020). Evaluating the effectiveness of ‘learning by doing’ teaching strategy in a research methodology course, Hargeisa, Somaliland. African Education Research Journal, 8(1), 13-19.

##submission.downloads##

Published

23-01-2024