การตรวจสอบความถูกต้องของการแปลโดยใช้กูเกิ้ล ทรานสเลท จากสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยในระดับประโยค

Authors

  • ภูรี กาญจนากาศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • มณฑรัตน์ รุ่งเรืองธรรม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

##semicolon##

การแปล##common.commaListSeparator## สำนวนภาษาอังกฤษ##common.commaListSeparator## ภาษาไทย##common.commaListSeparator## กูเกิ้ล ทรานสเลท

Abstract

กูเกิ้ล ทรานสเลท เป็นเครื่องมือแปลภาษาที่รองรับการแปลได้หลากหลายภาษาและใช้อย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามการแปลภาษาที่ใช้โปรแกรมแบบอัตโนมัติอาจเกิดข้อผิดพลาดได้โดยเกิดจากความแตกต่างทางลักษณะของภาษา งานวิจัยนี้มุ่งตรวจสอบความถูกต้องของการแปลสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยด้วย GT ในระดับประโยค และจำแนกประเภทความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการแปลสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ข้อมูลในงานวิจัยนี้คือกลุ่มสำนวนภาษาอังกฤษจากพจนานุกรม คอลลินส์ โคบิลด์ ดิกชันนารี (2020) กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิเคราะห์คือกลุ่มสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับอวัยวะบนศีรษะและใบหน้าทั้งหมด 246 สำนวนซึ่งปรากฏในระดับประโยค แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทยโดยใช้ GT และวิเคราะห์ความถูกต้องของการแปลโดยใช้ค่าความถี่ และค่าร้อยละ ผลวิจัยพบว่าการแปลสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยระดับประโยคโดย GT แบ่งความถูกต้องได้ 3 ระดับ คือ แปลความหมายได้ถูกต้อง (15.44%) แปลความหมายใกล้เคียง (9.34%) และแปลความหมายผิด (75.20%) ประโยคสำนวนที่แปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดโดย GT จำนวน 185 ประโยคแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การแปลแบบคำต่อคำหรือการแปลโดยพยัญชนะ (70.81%) การแปลโดยตีความผิด (22.16%) การแปลไม่สมบูรณ์ (4.86%) และการแปลไวยากรณ์ผิด (2.16%) ดังนั้นผู้พัฒนาเครื่องมือแปลภาษาสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปปรับปรุงความถูกต้องเกี่ยวกับการแปลสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานและผู้สอนภาษาอังกฤษใช้ GT เพื่อการเรียนรู้หรือการแปลสำนวนภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

##submission.citations##

กมล เกตุพันธ์, และ วราภรณ์ ศรีเพ็ชรพันธุ์. (2559). ทัศนคติ พฤติกรรมและปัญหาการใช้ “กูเกิ้ล ทรานสเลท” (Google Translate) ของนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, 8(1), 79-96.

จักรพงษ์ ทองผาย. (2564). การสร้างชุดฝึกการฟังและพูดภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจด้วยตนเองโดยใช้กูเกิ้ล ทรานสเลท. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 12(1), 140-156.

บุญเลิศ วงศ์พรม, และ ถาวร ทิศทองคำ. (2561). การแปลยุคใหม่กับการปรับตัวของผู้เรียน ผู้สอน และนักแปล. ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 ประจำปี 2561, (1-10). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2563). ทฤษฎีและหลักการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2562). ภาษา วัฒนธรรมกับการแปล : ไทย-อังกฤษ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2564). ความหมายกับการแปล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Alhaisoni, E., & Alhaysony, M. (2017). An Investigation of Saudi EFL University Students’ Attitudes towards the Use of Google Translate. International English of English Language Education, 5(1), 72-82.

Amilia, I. K., Hum, M., Yuwono, D. E., & Ling, S. (2020). A Study of the Translation of Google Translate: An Error Analysis of The Translation of Eliza Riley’s Return to Paradise. Lingua: Jurnal Ilmiah, 16(2), 1-21.

Anggaira, A. S., & Hadi, M. S. (2017). Linguistic Errors on Narrative Text Translation Using Google Translate. Journal of English Language Teaching, 5(1), 1-14.

Boonmoh, A., & Kulavichian, I. (2023). A Study of Thai EFL Learners’ Problems with Using Online Tools and Dictionaries in English-to-Thai Translation. Kasetsart Journal of Social Sciences, 44(4), 497-508.

Collins Cobuild. (2020). Idioms Dictionary (4th ed.). Glasgow: HarperCollins.

Cullen, A. (2020). How Artificial Intelligence “Work” in Literary Translation. Retrieve 18 September 2023, from https://www.goethe.de/ins/gb/en/kul/lue/ail/ 21967556.html

Hanh, N. T., & Long, N. T. (2019). English Idioms Containing Human-Body Parts and Their Vietnamese Equivalents: A Case Study of Two English Novels and Their Vietnamese Translation Versions. VNU Journal of Foreign Studies, 35(3), 83-102.

Longman Group Ltd. (2000). Longman Dictionary of Contemporary English. (3rd ed.). Essex : Pearson Education.

Newmark, P. (1988). A Textbook of Translation (1st ed.). Hertfordshire : Prentice Hall.

Yanti, M., & Meka, L. M. C. (2019). The Students’ Perception in Using Google Translate as a Media in Translation Class. International Conference on English Language Teaching, (128-146). Institut Agama Islam Negeri (IAIN) Palangka Raya Indonesia.

##submission.downloads##

Published

08-05-2024