ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี

Authors

  • Saranyu Chanwong คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • พิมพ์พร เลิศอำไพ บริษัท เซ็นทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด
  • ปวริศา เทียนทอง นักวิจัยอิสระ

##semicolon##

การท่องเที่ยวเชิงอาหาร##common.commaListSeparator## อาหารท้องถิ่น##common.commaListSeparator## เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร##common.commaListSeparator## ยูเนสโก

Abstract

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี” เกิดขึ้นจากการตั้งข้อสังเกตหลังจากที่จังหวัดเพชรบุรีได้เป็นเมืองสมาชิกในเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ทางด้านอาหารขององค์กรยูเนสโก (The UNESCO Creative Cities Network : UCCN) ในปี พ.ศ. 2564 บทความวิจัยนี้ได้จัดทำในรูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผลงานวิจัยต่าง ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องและดำเนินการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่พิเศษ 8 (อพท.) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเพชรบุรี และกลุ่มแผนงานกลยุทธ์สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์เนื้อหาและสังเคราะห์ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับนโยบายงาน แผนงาน และยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรีประกอบกับแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลการท่องเที่ยวเชิงอาหารภายในจังหวัดเพชรบุรี 2) เพื่อศึกษาทิศทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของจังหวัดเพชรบุรี พบว่า จังหวัดเพชรบุรีมีการดำเนินการจัดเก็บฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลความสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร รวมถึงศาสตร์แขนงต่าง ๆ ด้านอาหารที่เป็นองค์ประกอบในการทำให้เกิดความโดดเด่นและเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่ ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบุรีได้มีการร่วมมือจากหน่วยงานภายในพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมไปถึงภาคส่วนของผู้ประกอบการในพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนนโยบายและผลักดันให้เพชรบุรีเป็นจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารและนำความได้เปรียบในการเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก (UNESCO) มาเพิ่มโอกาสทางด้านเศรษฐกิจในการสร้างรายได้เข้าสู่พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและเกิดการหมุนเวียนรายได้ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

##submission.citations##

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). โครงการเพ่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (รายงานฉบับสมบูรณ์). กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มกองยุทธศาสตร์.

กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). แผนพัฒนา จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2561 – 2565 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2561. สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี.

กลุ่มยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2567). แผนพัฒนา จังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2566 – 2570 ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ 2567. สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี.

กิตติพงษ์ มายา, รําพึง ยมศรีทัศน์, อินท์ธีมา หิรัญอัครวงศ์, ศันสนีย์ ทิมทอง, ศุภัคษร มาแสวง และ ณนนท์ แดงสังวาลย์. (2566). องค์ประกอบเรื่องเล่าอาหารเมืองเพ็ชร์: เมืองสามรส. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 17(2), 10–12.

ทนาดา วิจักขณะ: รองผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2566). (สัมภาษณ์). เพชรบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่จังหวัด.

สุขสันต์ เพ็งดิษฐ์: ผู้จัดการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2566). (สัมภาษณ์). กรุงเทพฯ: พื้นที่พิเศษ 8.

สุวดี บุญมาจรินนท์, จันทร์จิตต์ ฐนะศิริ และ มนรัตน์ ใจเอื้อ. (2565). การออกแบบประสบการณ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชนผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานโมเดลเศรษฐกิจ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศรีปทุม ชลบุรี, 19(2), 6-8.

The World Tourism Organization. (2023). International tourism recovery and sustainable development. Online Report.

##submission.downloads##

Published

25-03-2024